ต่อเติมบ้าน อาคาร ไม่ศึกษาผิดกฎหมายได้

 




ต่อเติมบ้าน อาคาร ไม่ศึกษาผิดกฎหมายได้ 

   
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก thaicondoonline 


 การต่อเติมอาคาร หรือต่อเติมบ้านพักอาศัย หากมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตามใจชอบโดยไม่ศึกษาข้อกฎหมายให้ดี อาจมีความผิด และอาจต้องรับโทษได้         

เช่นหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ การต่อเติมอาคาร ด้านหลังที่เว้นไว้ 4 เมตร จนเต็มพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนั้น กำหนดให้ผู้ที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน หรือให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมทั้งดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็เป็นอันใช้ได้             

ส่วนการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการ ดัดแปลงอาคาร หรือไม่ กฎหมายกำหนดว่าการกระทำดังต่อไปนี้ (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11) ไม่ถือเป็น การดัดแปลงอาคาร เช่น  

  • การเปลี่ยน โครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ   
  • การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ   
  • การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ   
  • การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน   
  • การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน             

ดังนั้น จากข้อเท็จจริงจะพบว่าการต่อเติมดังกล่าว เป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ             

นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังคงฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา 65 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522) ซึ่งผู้ต่อเติม (ผู้จะซื้อ) น่าจะเป็นฝ่ายผิด เว้นแต่จะมีหลักฐานที่แสดงว่าฝ่ายผู้จะขายได้ให้ยินยอม (ให้ผู้จะซื้อทำการต่อเติมแทน) ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์.



 

Chatsittichai Civil Website บริษัท ฉัตรสิทธิ์ติชัย การโยธา จำกัด :  รับสร้างโรงงาน รับสร้างอาคาร รับสร้างบ้าน บริการให้คำปรึกษาสินเชื่อด้วนการก่อสร้าง  รับสร้างโรงงานสมุทรปราการ   

 

http://www.buymodafinilrx.com/