Chatsittichai Civil Website บริษัท ฉัตรสิทธิ์ติชัย การโยธา จำกัด : รับต่อเติมบ้าน พระราม2 สร้างบ้านผู้สูงอายุ รับเหมาต่อเติมบ้าน รับต่อเติมบ้าน บางใหญ่ รับสร้างบ้านสมุทรปราการ รับต่อเติมบ้าน บางบัวทอง
เตรียมตัวอย่างไรถ้าคิดจะ ต่อเติมบ้าน
ขั้นตอนการต่อเตรียมบ้าน
ขั้นที่ 1 คุยกันให้จบภายในครอบครัวเพื่อกำหนดแนวความคิด
ขั้นที่ 2 ปรึกษาคนที่มีความรู้ เช่นสถาปนิก วิศวกกร (หากอยากลดปัญหา)
ขั้นที่ 3 สรุปแนวคิด เขียนแบบ เตรียมเอกสาร ขออนุญาติให้ถูกต้อง
ขั้นที่ 4 เรียกผู้รับเหมามาเสนอราคาและคัดเลือกผู้รับเหมา โดยให้ผูออก แบบรับทราบ จะให้คำแนะนำท่านได้
ขั้นที่ 5 ได้ใบอนุญาติ เริ่มงานก่อสร้าง มีปัญหาอะไรปรึกษาผู้ออกแบบและให้ผู้ออกแบบมารับทราบเรื่องการเบิกงวดงาน และตรวจรับงาน
ข้อควรคำนึงถึงในการ ต่อเติมบ้าน ต่อเติมบ้าน
1. ต้องการพื้นที่ใช้สอยอะไรจากส่วนที่ปรับปรุง (จำ เป็นแค่ไหนคุ้มค่าหรือไม่) เพราะการปรับปรุงหากไม่ได้วางแผนไว้แต่แรกย่อมมีผลกระทบแน่นอน แต่เพียงผลดังกล่าวมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งพอคิดหลายๆ ด้าน อาจกลับมาที่เดิมก็เป็นได้ การต่อเติมที่เป็นเรื่องเป็นราวผมแนะนำให้ปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกรโครงสร้าง จะช่วยชี้ปัญหาให้เห็นตั้งแต่ต้นซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องที่จะกล่าวต่อไป...
2. ดูข้อจำกัดการปรับปรุงว่ามีที่ดินเพียงพอในกรณีขยายในแนวราบ(หรือขยายในแนวดิ่งซ้อนชั้นดูโครงสร้างว่ารับน้ำหนักได้) ตรงนี้สำคัญครับเพราะเราต้องมีพื้นที่ในการก่อสร้าง รวมถึงการเว้นจากแนวเขตที่ดินคิดง่ายๆ นะครับ ถ้า
ต่อเติมอาคาร 3 ชั้นและมีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย 3 เมตร
ต่อเติมอาคาร 2 ชั้นและมีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย 2 เมตร
ต่อเติมอาคารชั้นเดียวและมีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย1-1.5เมตร
กรณี สุดท้ายคุณต้องการสร้างเต็มพื้นที่ อย่างน้อยสุดต้องเว้นระยะจากที่ดิน 50 เซนติเมตรและห้ามเจาะช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว
(มาดูว่าทำไมต้องเว้นในข้อต่อไป)
3. จากข้อที่ 2 ต้องศึกษา กฏหมาย(พรบ.) โดยเฉพาะระยะการเว้นจากแนวเขตที่ดิน และความรู้ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง เนื่อง จากกฏหมายกำหนดให้อาคารที่ปลูกสร้างต้องเว้นระยะห่างจากที่ดินตามชนนิดอาคาร และความสูง(จำนวนชั้น) เพื่อเหตุผลด้านสุขลักษณะที่ดี สิ่งแวดล้อม การลุกรามไฟกรณ๊ไฟไหม้ รวมถึงปัญหาระหว่างก่อสร้างส่งผลต่อที่ดินข้างเคียง การ ต่อเติมอาคารจะต้องขออนุญาติปลูกส้รางต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นของคุณ (อบต. สำนักงานเขต เทศบาล กทม.)ต้องมีแบบแปลน( สำเนา 5 ชุด)ซึ่งแสดงแนวอาคารเดิมอ้างอิงในที่ดิน โฉนดที่ดิน ออกแบบโดยสถาปนิกหรือวิศวกรพร้อมลงนามแนบสำเนาใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ พร้อมข้อมูลของท่านเจ้าของบ้าน กรอกแบบฟอร์มขออนุญาติดัดแปลงปรับปรุง
4. มีงบประมาณแค่ไหน (ให้คำนึงถึงราคาที่เสียไปและสิ่งที่จะได้มาเปรียบเทียบกัน)โดย การทำงานปรับปรุงถือว่ายุ่งยากกว่าการทำใหม่หรือรื้อทิ้ง โดยทั่วไปการคิดค่าใช้จ่ายอาจจะแพงขึ้นมาอีกนิด1.5 เท่า เพราะต้องศึกษาของเดิมด้วยและรวมกับของใหม่
5. มองผลกระทบที่จะตามมาหลายๆด้านและความสอดคล้องทางด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ-รูปลักษณ์อาคารโดยรวมเปลี่ยนไปแบบใด-แดด ลม แสงสว่าง ฝนสาด มุมมอง-โครงสร้างใหม่-เก่าและการทุดตัวที่ไม่เท่ากัน-งานระบบที่อาจไม่สมบูณณ์ เช่น น้ำ ไฟ ท่อระบายน้ำ- รอยรั่วและความไม่เรียบร้อยของงานก่อสร้างๆ ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
ขอขคุณข้อมูลจาก win888