สิ่งที่ต้องรู้ในการตกแต่งและต่อเติมบ้าน, รับต่อเติมบ้าน ต่อเติมอาคาร

Chatsittichai Civil Website บริษัท ฉัตรสิทธิ์ติชัย การโยธา จำกัด :  รับสร้างโรงงาน รับสร้างอาคาร รับสร้างบ้าน บริการให้คำปรึกษาสินเชื่อด้วนการก่อสร้าง รับต่อเติมบ้าน รับต่อเติมอาคาร รับสร้างโรงงานสมุทรปราการ  รับเหมาก่อสร้างกรุงเทพและปริมณฑล

 



สิ่งที่ต้องรู้ในการตกแต่งและต่อเติมบ้าน


แม้จะเป็นบ้านของเรา แต่การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว ก็ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถทำได้ตามใจชอบ โดยเฉพาะเมื่อการต่อเติมนั้นหมายถึงการขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตารางเมตร การเปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม การเพิ่ม - ลด จำนวน หรือเปลี่ยนเสา อาคาร บันได และผนัง ทั้งหมดที่ว่ามานี้จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากทางราชการ เรามาดูรายละเอียดกันนะคะ

ระยะร่น – รู้ไหมว่าถ้าคุณคิดจะต่อเติมอาคาร จะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดินตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2.0 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ ผนังด้านที่เปิดประตูหน้าต่าง ที่สูงไม่เกิน 9.0 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับส่วนที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง


ยื่นแบบขออนุญาต – ถ้าพิจารณาจากระยะร่นตามกฎหมายแล้ว บอกได้เลยว่า ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฎหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้อง ก็ต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้


เคารพกฎระเบียบของโครงการ – ในกรณีที่คุณซื้อบ้านจัดสรร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอสังหาริมทรัพย์ อาจมีเงื่อนไขข้อตกลงบางอย่างที่ทางโครงการกำหนดไว้ เพื่อควบคุมภาพลักษณ์โครงการให้มีความเป็นเอกภาพ หรือมีความเรียบร้อยสวยงาม ป้องกันปัญหาการต่อเติมอาคารแล้วทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมเกิดทัศนอุจาด หรือได้รับผลกระทบในทางลบ รูปแบบการต่อเติมของคุณจะต้องไม่ขัดกับเงื่อนไขข้อตกลงที่ทางโครงการระบุไว้


การตกลงกับเพื่อนบ้าน – แม้จะไม่มีปัญหาใด ๆ กับกฎหมายแล้ว ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียงก็ไม่ควรละเลย ในการต่อเติมอาคารส่วนที่มีผลต่อพื้นที่ข้างเคียง หรืออาจะมีผลกระทบในช่วงที่ทำการก่อสร้าง เช่น มีเสียงดัง มีฝุ่น อาจมีความเสี่ยงที่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอาคารใกล้เคียง  ฯลฯ จำเป็นจะต้องมีการพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไปร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก


รับผิดชอบต่อผลกระทบของพื้นที่โดยรอบ – กรณีที่บ้านของคุณอาจมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย

ความปลอดภัยในการก่อสร้าง - การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึงสภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณรอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม โดยเฉพาะในเรื่องการรับน้ำหนักของโครงสร้างที่ผิดไปจากเดิม อย่าคิด หรือตัดสินใจเองว่า การต่อเติมนิดหน่อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานอีกเพียงเล็กน้อยและไปผูกยึดติดกับโครงสร้างเดิมของบ้าน คงไม่เป็นไร เพราะเป็นความคิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาในภายหลัง เนื่องจากโครงสร้างบ้านโดยทั่วไปผู้ออกแบบจะคำนวณน้ำหนักของตัวบ้าน จำนวนคนที่จะเข้าอยู่อาศัย จำนวนเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ  เพื่อกำหนดขนาดของเสาเข็มและฐานรากที่เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน หากมีการทำอะไรที่การรับน้ำหนักผิดไปจากเดิมอาจเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง

ปัญหาที่พบบ่อย ๆ สำหรับบ้านที่ต่อเติมโดยไม่ได้ปรึกษาวิศวกร คือบ้านร้าว หรือทรุด หรือฝนตกแล้วเกิดการรั่วซึมตามมา และท้ายสุดส่งผลเสียหายต่อตัวบ้านเดิม จนต้องรื้อทุบใหม่หมด เพราะส่วนใหญ่ที่ทำการต่อเติมใหม่นั้นทำโดยไปต่อเชื่อมกับตัวบ้านเดิม และมักใช้เสาเข็มขนาดเล็กหรือสั้นกว่าตัวบ้านเดิม ทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างของเดิมกับของใหม่ ส่งผลให้บริเวณรอยต่อระหว่างทั้ง 2 ส่วนจะเริ่มแตกร้าวและแยกส่วนออกจากกัน    กรณีที่เสียหายมาก ๆ ก็คือหากส่วนต่อเติมที่มีโครงสร้าง เช่น เสาหรือคานเชื่อมต่อกับตัวบ้านเดิมไว้ พอส่วนต่อเติมทรุดลง ก็จะไปดึงโครงสร้างอาคารเดิมทรุดตามลงมาด้วย กรณีเช่นนี้ต้องทุบรื้อหรือตัดส่วนต่อเติมให้ขาดออกไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่บ้านเดิมจะเสียหายมากตามไปด้วย

การระบายน้ำฝน – เป็นข้อควรระวังที่หลายคนคิดไม่ถึงในการต่อเติมบ้าน คือการต่อเติมแล้วแนวชายคายื่นไปจนถึงแนวเขตที่ดินที่ติดกัน อย่าคิดว่าสิ่งก่อสร้างนั้นอยู่ในที่ของเราแล้วไม่เป็นอะไร เช่น เมื่อเกิดฝนตกหลังคาก็จะระบายน้ำข้ามกระเด็นไปยังบ้านข้างเคียง กรณีนี้ผิดกฎหมาย แนวทางแก้ไขคือการทำรางน้ำที่ชายคา และรักษาระดับแนวของรางน้ำให้อยู่ในเขตของบ้านเรา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก realasset.co.th