ข้อควรรู้ก่อนคิดต่อเติมบ้าน
เรื่องของคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่ บ้านเก่า มักคิดคำนึงถึง คือเรื่องการต่อเติม ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะแบบบ้านมาตรฐานที่โครงการบ้านจัดสรรทั่วไปจัดให้นั้น ส่วนใหญ่เขาก็จะออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้ตรงกับความต้องการพื้นฐานทั่วไปของคนส่วนใหญ่
เรื่องของคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่ บ้านเก่า มักคิดคำนึงถึง คือเรื่องการต่อเติม ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะแบบบ้านมาตรฐานที่โครงการบ้านจัดสรรทั่วไปจัดให้นั้น ส่วนใหญ่เขาก็จะออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้ตรงกับความต้องการพื้นฐานทั่วไปของคนส่วนใหญ่ แต่บางส่วน บางมุมของบ้านอาจไม่ตรงกับใจของเจ้าของบ้านก็ได้ เนื่องจากความต้องการใช้งาน ของแต่ละครอบครัวจะแตกต่างกันไป บางบ้านต้องการห้องครัวขนาดใหญ่ บางบ้านต้องการขยายโรงรถ หรือบางบ้านชอบจัดสวน ดังนั้นการแก้ไข ต่อเติมบ้าน จำเป็นจะต้องมีความรู้บ้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในภายหลัง จึงขอแนะนำข้อควรรู้สำหรับท่านที่กำลังคิดจะต่อเติมบ้าน
ปรึกษาวิศวกรสักนิดก่อนคิดต่อเติม
การต่อเติมบนโครงสร้างเดิม จะต้องให้วิศวกรทำการตรวจสอบฐานรากและโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักในการต่อเติมได้หรือไม่ และเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น ควรเลือกวัสดุที่ใช้ต่อเติมเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ใช้โครงสร้างส่วนต่อเติมเป็นโครงสร้างเหล็ก หรือใช้ผนังเบา เป็นต้นแต่ที่ขอแนะนำคือ อย่าคิด หรือตัดสินใจเองว่า การต่อเติมนิดหน่อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานอีกเพียงเล็กน้อยและไปผูกยึดติดกับโครงสร้างเดิมของบ้านไม่เป็นไรนั้น เป็นความคิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาในภายหลัง เพราะโครงสร้างบ้านเดิมโดยทั่วไปผู้ออกแบบจะคำนวณน้ำหนักของตัวบ้าน จำนวนคนที่จะเข้าอยู่อาศัย จำนวนเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดขนาดของเสาเข็มและฐานรากที่เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน ซึ่งขนาดเสาเข็มส่วนใหญ่สำหรับบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ นั้น จะนิยมใช้เสาเข็มรูปตัว I ที่มีความยาว 12, 14, 16, 18, 21 เมตร แล้วแต่สภาพของดินในแต่ละพื้นที่ โดยสำหรับโครงการบ้านพฤกษา จะใช้เข็มขนาด I (0.18x0.18) ยาว 15 เมตร ซึ่งตามหลักทางวิศวกรรมนี้บ้านพักอาศัยจะสามารถคงอยู่ได้อย่างถาวร โดยมีการทรุดตัวตามธรรมชาติเล็กน้อย แต่ไม่ทำให้ถึงกับแตกร้าวให้เห็นอย่างชัดเจน
ดังนั้นจะเห็นว่าเขาไม่ได้มีการคำนวณบวกภาระการรับน้ำหนักที่จะมีการต่อเติมต่าง ๆ เผื่อเอาไว้ด้วย จึงมักปรากฏปัญหาอยู่บ่อย ๆ สำหรับบ้านที่ต่อเติมโดยไม่ได้ปรึกษาวิศวกร จะมีปัญหาบ้านร้าว หรือทรุด หรือฝนตกแล้วเกิดการรั่วซึม ตามมา และท้ายสุดส่งผลเสียหายต่อตัวบ้านเดิม จนต้องรื้อทุบใหม่หมด ไม่คุ้มเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ที่ทำการต่อเติมใหม่นั้นทำโดยไปต่อเชื่อมกับตัวบ้านเดิม และมักใช้เสาเข็มขนาดเล็กหรือสั้นกว่าตัวบ้านเดิม ทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันของตัวบ้านเดิมและส่วนที่ต่อเติมใหม่ ส่งผลให้บริเวณรอยต่อระหว่างทั้ง 2 ส่วนจะเริ่มแตกร้าวและแยกส่วนออกจากกัน กรณีที่เสียหายมาก ๆ ก็คือหากส่วนต่อเติมที่มีโครงสร้าง เช่นเสาหรือคานเชื่อมต่อกับตัวบ้านเดิมไว้ พอส่วนต่อเติมทรุดลงก็จะไปดึงโครงสร้างอาคารเดิมทรุดตามลงมาด้วย กรณีเช่นนี้ต้องทุบรื้อหรือตัดส่วนต่อเติมให้ขาดออกไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่บ้านเดิมจะเสียหากมากตามไปด้วย
ดังนั้นในการต่อเติมที่ถูกต้อง ต้องสร้างส่วนต่อเติมใหม่แยกออกจากโครงสร้างบ้านเดิม ไม่ว่าจะเป็นเสาเข็ม เสา คานและโครงหลังคา
สำหรับบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบที่ทันสมัยอย่างเช่นของโครงการบ้านพฤกษานั้น จะใช้ระบบผนังสำเร็จรูปแบบหล่อในที่ แทนซึ่งต่างจากโครงการทั่วไปที่เป็นระบบก่ออิฐฉาบปูนแบบทั่วไป โดยระบบผนังสำเร็จรูปแบบนี้ผนังจะเป็นตัวรับน้ำหนัก แทนเสาและคาน ดังนั้นในการต่อเติมยิ่งต้องเน้นให้มีการแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมออกจากอาคารเดิมอย่างเด็ดขาด กรณีที่ต้องการทุบผนังบางส่วน หรือจะเจาะช่องเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตามสามารถทำได้แต่ต้องปรึกษาวิศวกรของโครงการก่อน
เจรจา ขออนุญาตจากเพื่อนบ้านนอกจากปรึกษาวิศวกรแล้ว คราวนี้ก็ต้องมารู้ในด้านกฎหมายกันบ้างละครับ เพราะถ้าพูดกันจริง ๆ แล้วการต่อเติมที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปนั้น น้อยรายนักที่จะทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าตราบใดที่คุณทำอะไรแล้วไม่ไปก่อความเดือนร้อนให้เกิดกับคนอื่น ก็คงจะไม่เท่าไร แต่ถ้าการต่อเติมของคุณไปทำให้เพื่อนบ้านเรือนเคียงที่อยู่ติดกันเดือดร้อนขึ้นมาล่ะก็ เป็นเรื่องแน่นอนครับ
ทั้งนี้โดยสภาพแล้วบ้านประเภททาวน์เฮาส์ ส่วนมากมักจะต่อเติมขยายพื้นที่ไปจนติดแนวเขตที่ดินหรือเต็มพื้นที่ จนลืมไปว่าส่วนด้านนอกของกำแพงที่ก่อขึ้นมาชิดแนวเขตนั้น ช่างไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปฉาบปูนเก็บงานได้ หรืออาจะต้องปีนเข้าไปทำงานในเขตของเพื่อนบ้านเพื่อฉาบปูน ทาสี และในระหว่างการกอ่สร้างก็จะมีการรบกวนเพื่อนบ้านต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสียงอึกทึกคึกโครม ในการตอก ทุบ เสียงคนงานตะโกน ฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง เงาของส่วนต่อเติมไปบังทิศทางลม และสารพัดปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าท่านได้ไปเจรจาขออนุญาตจากเพื่อนบ้านอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ระยะถอยร่นตามกฎหมายข้อควรระวังอีกเรื่องคือ การต่อเติมแล้วแนวชายคายื่นไปจนถึงแนวเขตที่ดินที่ติดกัน อย่าคิดว่าสิ่งก่อสร้างนั้นอยู่ในที่ของเราแล้วไม่เป็นอะไร เช่นเมื่อเกิดฝนตกหลังคาก็จะระบายน้ำข้ามกระเด็นไปยังบ้านข้างเคียง กรณีนี้ผิดกฎหมายนะครับ แนวทางแก้ไขคือการทำรางน้ำที่ชายคา และรักษาระดับแนวของรางน้ำให้อยู่ในเขตของบ้านเราครับ อย่าไปคิดเล็กคิดน้อยว่าจะขยายให้เต็มพอดีเลยครับ เราต้องอาศัยอยู่กับเพื่อนบ้านไปอีกนาน อย่าทำให้เรื่องแค่นี้ต้องหมางใจกันเปล่า ๆ และจะให้ข้อมูลเรื่องระยะถอยร่นที่ถูกต้องตามกฎหมายไว้ ดังนี้
ส่วนของบ้าน ระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดินกำแพงที่มีช่องลม ช่องหน้าต่าง ช่องแสง บ้านสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องถอยร่นอย่างน้อย 2 เมตร - บ้านสูงเกิน 9 เมตร ต้องถอยร่นอย่างน้อย 3 เมตร - กำแพงทึบ (ไม่มีช่องลม ช่องแสง) ทุกชั้นต้องถอยร่น 50 ซ.ม. ถ้าสร้างชิดแนวเขตต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากเจ้าของที่ดินข้างเคียง - ระเบียงและเฉลียง เฉลียงชั้นที่ 1 ทำยื่นออกไปชิดแนวเขตได้ - ระเบียงชั้นที่ 2 ต้องทำราวกันตกถอยร่นจากเขตอย่างน้อย 2 เมตร - ระเบียงชั้นที่ 3 ต้องทำราวกันตกถอยร่นจากเขตอย่างน้อย 3 เมตร และหากต้องการทำระเบียงที่ห่างจากเขตเพียง 50 ซ.ม. ต้องทำราวกันตก ในลักษณะเป็นผนังทึบสูง 1.80 เมตรโดยตลอดแนวเขตกันสาด ชั้นที่ 2 และ 3 กันสาดยื่นออกมาจากตัวบ้านและห่างจากเขต อย่างน้อย 50 ซ.ม. การต่อเติมบ้านโดยไม่ปรึกษาวิศวกรและไม่รู้ข้อกฎหมาย ท้ายสุดท่านอาจต้องมาทุบรื้อสิ่งก่อสร้างที่ต่อเติมออกไป จึงขอให้ ปรึกษาสถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าหน้าที่สำนักโยธาในเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยก่อนจะต่อเติมดีที่สุดครับ.
ขอบคุณข้อมูลจาก decorreport.com